คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่ถามบ่อย

คำถามที่ถามบ่อย ๆ และต้องตอบซ้ำ ๆ อยู่เสมอ รวบรวมเอาไว้เพื่อทำความเข้าใจ

วันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 28 เม.ย.2566

ชื่อมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความหมายว่า “มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร”“วิโรฒ” มาจากคำว่า “วิโรฒ” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความงอกงามหรือเจริญ เทียบได้กับคำว่า “วิรุฬห์” ในภาษาบาลีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) มีชื่อย่อ ว่า “มศว” เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “Srinakharinwirot University”ปรัชญา (Philosophy)“การศึกษาคือความเจริญงอกงาม” ตรงกับภาษาอังกฤษ ว่า “Education is Growth” และตรงกับภาษาบาลีว่า “สิกขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา ”เจริญงอกงามด้วย อารยวัฒิ 5 ประการ1. งอกงามด้วยศรัทธางอกงามด้วยศรัทธาในชีวิต บทบาท และหน้าที่ของตน2. งอกงามด้วยศีลงอกงามด้วยจริยธรรมและความดีงามทั้งปวง3. งอกงามด้วยสุตะงอกงามด้วยการสดับตรับฟังและเรียนรู้ตลอดเวลา4. งอกงามด้วยจาคะงอกงามด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเอื้ออาทรต่อผู้อื่น5. งอกงามด้วยปัญญางอกงามในการดำรงชีวิต คิด และทำด้วยปัญญา( อง.ปญจก.22/40/47 )ปณิธาน (Pledge)ประชาคมวิชาการแห่งผู้มีความรู้ประดุจนักปราชญ์ และมีความประพฤติประดุจผู้ทรงศีล สมฐานะของผู้นําทางปัญญางานเชิดชูเกียรติ “วันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”๗๔ ปี มศว ๒๕๖๖รางวัลศรีสง่าศรีนครินทร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ศิษย์เก่าดีเด่นด้านวิจัย วิชาการและนวัตกรรมศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุขเนื่องใน “วันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๖We’re pround of you, You are my inspiration. กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงศิษย์แห่ง มศว จะรักษาเกียรตินี้ชั่วชีวิต

วันครู 16 มกราคม 2566

คุรุสภา

ครูมีเกียรติศักดิ์ศรี เด็กรัก
ครูดีสั่งสอนมัก เด็กชอบ
ครูสร้างชาติพลัง เด็กรุ่ง เรืองรอง
ครูครรลองส่งมอบ เด็กล้วน ศรีเมือง

ศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข

พลังครู คือ หัวใจ
ของการพลิกโฉม
คุณภาพการศึกษา
Teacher’s Power is
the Heart of Transforming
the Educational Quality
วันครู ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖

นวัตกรรมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อความเป็นพลโลก

การประชุมทางวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานและนวัตกรรมทางวิชาการ
ของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ. วิชาการ ครั้งที่ 2)
“นวัตกรรมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อความเป็นพลโลก”
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และและบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.)
วันที่ 21 – 22 มิถุนายน 2564
https://www.slideshare.net/prachyanun1/ss-249450402

ขอแสดงความยินดี ศาสตราจารย์ มจพ.

ขอแสดงความยินดี
ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาครุศาสตร์ สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี

เรื่องแต่งตั้งศาสตราจารย์

ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ ความว่า มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือให้ดำรงต าแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์รวม 4 ราย ดังนี้

  1. รองศาสตราจารย์พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2561
  2. รองศาสตราจารย์มานพ ชูนิล สังกัดคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาจิตวิทยา สังกัดคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2561
  3. รองศาสตราจารย์ปรัชญนันท์ นิลสุข สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาครุศาสตร์สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2561
  4. รองศาสตราจารย์เมธีพจน์ พัฒนศักดิ์ สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2562

ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ดอน ปรมัตถ์วินัย

รองนายกรัฐมนตรี

เครื่องมือสำหรับการสอนออนไลน์

เครื่องมือสำหรับการสอนออนไลน์ในลักษณะที่เป็นเรียวไทม์หรือสอนแบบเห็นหน้าเห็นตาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนที่เหมาะสมที่สุด เพื่อที่จะได้สอนตามเวลาที่กำหนดในตารางสอน จะได้นัดหมายนักศึกษามาเข้าเรียนได้ตามปกติ มีเครื่องลักษณะดังกล่าวหลากหลายเป็นไปตามแต่ละมหาวิทยาลัยจะถนัดและได้รับการฝึกอบรมที่แตกต่างกัน มีทั้งที่เป็นแบบเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย มีคุณภาพและการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน แต่มีคุณลักษณะเดียวกันคือสามารถที่จะใช้สอนออนไลน์ได้เหมือนกัน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถพบกันได้ในเวลาเดียวกัน ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ในการสอนออนไลน์จะเป็นลักษณะแตกต่างกันได้แก่

  • สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสอนแบบเรียวไทม์ได้เช่น เฟสบุ๊คซ์ไลฟ์ (Facebook live) , ไลน์ (LINE) , สไกด์ (Skype) ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นโปรแกรมสนทนาออนไลน์แบบเห็นหน้า เป็นการสนทนาแบบกลุ่มที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสอนออนไลน์ได้ แต่ไม่มีเครื่องมือช่วยในการบรรยายและควบคุมการนำเสนอต่าง ๆ มีลักษณะเป็นห้องสนทนาระหว่างบุคคลมากกว่า
  • การประชุมทางไกล (Video Conferencing) เป็นระบบการสื่อสารสองทางที่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสอนออนไลน์มากที่สุด เนื่องจาก
    เป็นระบบที่สามารถพบกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนในทันที สามารถจัดกลุ่มในการเรียนในลักษณะชั้นเรียนได้ ควบคุมการบรรยายและการนำเสนอของผู้สอนและผู้เรียนได้ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ทำให้ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในแบบปฏิสัมพันธ์ในเวลาเดียวกัน
    กลุ่มนี้ได้แก่ Microsoft Team / Google Hangouts Meet / Google Classroom, Zoom.us , Webex Cisco, Youtube channel ฯลฯ

ส่วนโปรแกรมติดตั้งประเภทเชื่อมอินเทอร์เน็ตแล้วเปิดออนไลน์ ควบคุมได้ด้วยตนเองก็เช่น OBS (Open Broadcast Software) คือโปรแกรม OpenSource ที่ต้องลงเครื่องเปิดให้ใช้งานฟรี บันทึกได้ นำมาขึ้นยูทูปได้อีกรอบ นอกจากนั้นก็ยังมีอีกมากมาย

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ทำให้เกิดการหยุดชะงักกิจกรรมต่าง ๆ
การยกเลิกการประชุมทั่วโลก มีการยกเลิกการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยของประเทศไทยหลายแห่งเนื่องจากความวิตกกังวลในการที่
ผู้เรียนมาเรียนร่วมกันจะเกิดการติดเชื้อและการแพร่กระจายทำให้ควบคุมได้ยาก ความตื่นตระหนกสะท้อนไปถึงการขาดแคลนวัสดุป้องกันเชื้อ
ตลอดจนความวิตกกังวลที่จะเข้าร่วมการประชุมที่มีผู้คนเข้าร่วมมาก ๆ ที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ต้องหันมาจัดในลักษณะการออนไลน์

เพื่อให้กิจกรรมดำเนินต่อไปได้โดยที่ผู้เข้าร่วมไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยทุกคนสามารถสื่อสารกันได้ทุกที่ทุกเวลาแม้จะอยู่ห่างกัน จึงจำเป็น
ต้องมีการใช้งานระบบประชุมทางไกล (Video Conferencing) เข้ามาช่วยในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยไม่สามารถดำเนินการได้ การจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาร่วมกันในเวลาเดียวกัน โดยการใช้โปรแกรมประชุมทางไกลที่มีให้เลือกอยู่มากมาย อาทิเช่น zoom.us , Microsoft Team, Google Meet ฯลฯ แต่ละอย่างมีลักษณะคล้าย ๆ กันแต่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของตนที่แตกต่างไปตามแต่ผู้ใช้งานจะเลือกใช้

ส่วนตัวผมเองตอนนี้ใช้ Webex Cisco เป็นหลัก เพราะทำงานได้ต่อเนื่องหลายชั่วโมงฟรี โดยไม่มีการตัดเริ่มต้นใหม่ ส่วน zoom.us เป็นระบบที่ดีมากทำงานคล้ายกันกับ Webex Cisco แต่เสียค่าใช้จ่าย ให้ใช้งานได้ฟรีเพียง 40 นาทแล้วก็ต้องเปิดห้องใหม่อยู่ตลอดเวลา MS Team ก็ต้องเป็นสมาชิกของไมโครซอฟท์ เช่นเดียวกันกับ Google ก็ต้องเป็นสมาชิกและมีอีเมลของ google ขณะที่ Webex Cisco สมัครแล้วใช้งานได้ทันที ข้อเสียก็คือต้องสมัครแล้วรออีเมลตอบทีละขั้นประมาณ 1-3 วัน ถ้าใครไม่รู้ก็นึกว่าไม่อนุญาตให้ใช้ก็จะไม่คลิกเข้าไปดูเงื่อนไขอย่างต่อเนื่องทำให้เสียสิทธิ แต่ถ้ารอจนได้รับ login/password จึงจะได้สิทธิเปิดห้องเรียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

ห้องประชุมระบบ Video Conferencing ด้วย Webex Cisco ของ รศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ไปพบผมได้ที่นี่ครับ (14 เมษายน 2563)
https://meetingsapac3.webex.com/meet/prachyanun.n

ภาพ 1 ห้องเรียนออนไลน์ด้วย Webex Cisco ของนักศึกษาปริญญาโทการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี พ.ศ.2563

ภาพ 2 ห้องเรียนออนไลน์ด้วย Zoom.us ของนักศึกษาปริญญาโทการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี พ.ศ.2563

ภาพ 3 ห้องเรียนออนไลน์ด้วย Zoom.us ของนักศึกษาปริญญาเอก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ.2563
ภาพ 4 การประชุมออนไลน์ กลุ่มบำบัดผู้ติดวิทยานิพนธ์รุ่น covid-19
วันที่ 6 เมย. 63 เวลา 10:30 – 12:00 น. ด้วย Cisco Webex
ภาพ 5 สอนออนไลน์ด้วย zoom.us นักศึกษาปริญญาเอก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)

สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)
หมู่ที่ 1 ต.ไร่ส้ม อ.เมืองฯ จ.เพชรบุรี (76000)

สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี) เป็นสำนักปฏิบัติธรรมตั้งอยู่บนเขากิ่ว ติดอยู่กับเขาบันไดอิฐ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ
จะมองเห็นก่อนเขาวัง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่ตั้งมาหลายสิบปี มีหลวงพ่อกันตะสิริภิกขุเป็นประธานสงฆ์

ผมเคยบวชเณรปฏิบัติและฝึกกรรมฐาน เจริญอาณาปาณะสติอยู่สำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนและก็ยังคงปฏิบัติอยู่เช่นนี้จนถึงปัจจุบัน

ผมเป็นกรรมการมูลนิธิศิริธรรมชุดที่จัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ.2563 ที่จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เพื่อทำหน้าที่ทะนุบำรุงสำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี) และสำนักปฏิบัติศิริธรรม-นายาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่

ผมจึงไม่ใช่เพิ่งมาเข้าวัดตอนแก่หรือเผชิญทุกข์จนต้องแสวงหาที่พึ่ง แต่ติดตามบุพการีคือคุณพ่อและคุณแม่อุปถัมน์พระพุทธศาสนามาตั้งแต่ยังเด็ก
แม้จะสิ้นท่านทั้งสองไปแล้วก็ยังถวายทานและทำบุญถวายสังฆทานตลอดเดือนทุกเดือนแด่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อุทิศส่วนกุศลให้คุณพ่อชำนาญและคุณแม่ประชัญ นิลสุข ไปตราบเท่าชีวิตจะหาไม่
ยึดมั่นและมั่นคง เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา ศรัทธาไม่คลอนแคลนในพระพุทธศาสนา อันเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้น
ความปรารถนาที่จะละโลกนี้ไปโดยไม่คิดจะกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารเป็นปรารถนาอันสูงสุดและไม่ปรารถนสิ่งใดอีก
จึงไม่มีคำตอบใดอีก เมื่อต้องตอบคำถามที่ว่าทำไมมาทำบุญที่สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรมเป็นประจำ สำนักฯ นี้ปฏิบัติอะไร สำนักฯ นี้ดีอย่างไร ฯลฯ

สุโข ปุญญัสสะ อุจจะโย การสั่งสมบุญนำสุขมาให้

อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลแผ่ไปให้ไพศาล
ถึงบิดามารดาครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน
คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้เทอญ

“อิทัง ปุญญะผะลัง” ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งดีหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้วแต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

และข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และ พระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด

และขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด

นิพพานะ ปัจจโย โหตุ

ปฐมบท Zoom

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ทำให้เกิดการหยุดชะงักกิจกรรมต่าง ๆ การยกเลิกการประชุมทั่วโลก มีการยกเลิกการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยของประเทศไทยหลายแห่งเนื่องจากความวิตกกังวลในการที่ผู้เรียนมาเรียนร่วมกันจะเกิดการติดเชื้อและการแพร่กระจายทำให้ควบคุมได้ยาก ความตื่นตระหนกสะท้อนไปถึงการขาดแคลนวัสดุป้องกันเชื้อ ตลอดจนความวิตกกังวลที่จะเข้าร่วมการประชุมที่มีผู้คนเข้าร่วมมาก ๆ ที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ต้องหันมาจัดในลักษณะการออนไลน์ เพื่อให้กิจกรรมดำเนินต่อไปได้โดยที่ผู้เข้าร่วมไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยทุกคนสามารถสื่อสารกันได้ทุกที่ทุกเวลาแม้จะอยู่ห่างกัน จึงจำเป็น ต้องมีการใช้งานระบบประชุมทางไกล (Video Conferencing) เข้ามาช่วยในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยไม่สามารถดำเนินการได้ การจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาร่วมกันในเวลาเดียวกัน โดยการใช้โปรแกรมประชุมทางไกลที่มีให้เลือกอยู่มากมาย อาทิเช่น zoom.us , Microsoft Team, Google Meet ฯลฯ

DICT9 online learning with zoom

ประวัติวิทยากร

ศาสตราจารย์ ดร. ปรัชญนันท์  นิลสุข

หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา  สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

การศึกษา   ปริญญาตรี   โสตทัศนศึกษา  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

     ปริญญาโท  เทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

     ปริญญาเอก เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประสบการณ์  

อาจารย์ประจำแผนกอิเล็กทรอนิกส์,  หัวหน้างานสื่อการเรียนการสอน, หัวหน้าคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, หัวหน้าศูนย์อินเทอร์เน็ต, หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, หัวหน้าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม  หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  มหาวิทยาลัยคริสเตียน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยธนบุรี มหาวิทยาลัยรามคำแหงฯลฯ   เป็นวิทยากรบรรยายและอบรมทางด้านการวิจัย การพัฒนาการเรียนการสอน และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา  ให้กับหน่วยงานราชการและเอกชน  เป็นกรรมการสภาวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กรรมการสภามหาวิทยาลัยธนบุรี  ที่ปรึกษาทางวิชาการวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู และที่ปรึกษาบริษัทเอกชนหลายแห่ง เป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกด้านอาชีวศึกษา สมศ.  เป็นบรรณาธิการวารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา   มีผลงานทางวิชาการ งานวิจัย  บทความทางวิชาการหลายร้อยเรื่อง ตำราวิชาการหลายสิบเล่ม   ผ่านการฝึกอบรมและศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศหลายสิบแห่ง 

สถานที่ติดต่อ   ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ 
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม  

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ บางซื่อ  กรุงเทพฯ  (10800)

โทร : 081-7037515   e-mail  : prachyanun@hotmail.com  ; http://www.prachyanun.com