เรื่องทั้งหมดโดย admin

เรื่องแต่งตั้งศาสตราจารย์

ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ ความว่า มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือให้ดำรงต าแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์รวม 4 ราย ดังนี้

  1. รองศาสตราจารย์พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2561
  2. รองศาสตราจารย์มานพ ชูนิล สังกัดคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาจิตวิทยา สังกัดคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2561
  3. รองศาสตราจารย์ปรัชญนันท์ นิลสุข สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาครุศาสตร์สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2561
  4. รองศาสตราจารย์เมธีพจน์ พัฒนศักดิ์ สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2562

ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ดอน ปรมัตถ์วินัย

รองนายกรัฐมนตรี

ขอเชิญร่วมงานกฐินสามัคคี ณ สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม – นายาง

ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคี
ณ สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม – นายาง
ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
โดยคุณธรรมเมศร์ อ่อนอิน และครอบครัว
วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2563
เวลา 10.00 น.

ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคี

ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคี
ณ สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)
ต.ไร่ส้ม อ.เมืองฯ จ.เพชรบุรี
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุขและครอบครัว
วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2563
เวลา 10.00 น.
กราบเรียนเชิญทุกท่านมาร่วมบุญด้วยความเคารพ

ICERI 2020

2020 The 10th International Conference on Education, Research and Innovation (ICERI 2020),
which will be held during September 15-17, 2020, in Busan, South Korea.
http://www.iceri.org

Due to the outbreak of the coronavirus, Online/Video Presentation are acceptable on the conference. Online presentation session will be arranged accordingly. Please contact the conference secretary for more information about Online/Video Presentation. Participants are required to wear face mask when attending the conference. And conference staff will check the body temperature and take other active action.

Some excellent papers will be recommended to be published on special issue” Innovating Education Through Empirical Research”in International Journal of Information and Education Technology (IJIET). For more information about the special issue, please visit: http://www.ijiet.org/index.php?m=content&c=index&a=lists&catid=114
ISSN: 2010-3689
Abstracting/ Indexing: Scopus (Since 2019), EI(INSPEC, IET), Electronic Journals Library, Google Scholar, Crossref, etc.

เสียงอ่านพระธรรมบท หลวงพ่อสุดใจ ทนฺตมโน

พระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด)
ศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
ซึ่งหลวงพ่อสุดใจได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม
มรดกธรรมที่ท่านทิ้งไว้และผมฟังอยู่ตลอดเวลาในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้
คือเสียงอ่านพระธรรมบท 142 ตอน

เป็นการอ่านหนังสือพระธรรมบท ที่แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
หลวงพ่อสุดใจได้อ่านพระธรรมบทเป็นภาษาไทย
มีบางท่อนปนภาษาบาลี เสียงอ่านของท่านราบเรียบ ช่วยให้เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ในครั้งพุทธกาล อันเป็นเกร็ดเรื่องราว
ที่ช่วยอธิบายเสริมพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้า ที่ทรงตรัสสอนภิกษุในสมัยนั้นโดยมีเหตุการณ์ในครั้งนั้นประกอบ ทำให้บางคนเรียกเป็น นิทานธรรมบท

เสียงอ่านพระธรรมบทของท่านเผยแพร่อยู่ในสถานีวิทยุเสียงธรรมของวัดป่าบ้านตาดทุกวัน และมีเผยแพร่อยู่ใน Youtube
หลายเวอร์ชั่น เป็นการอ่านพระธรรมบทและบันทึกเสียงสดของท่าน ไม่มีห้องอัดเสียงใด ๆ จึงมีเสียงไก่เสียงนก เสียงธรรมชาติรอบ ๆ บริเวณที่ท่านอ่านพระธรรมบทนั้นแทรกเข้ามาอย่างชัดเจน

พระธรรมบทที่ท่านอ่านล้วนเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ต้องการให้ทุกคนทำแต่ความดี ได้เข้าใจกฎแห่งกรรม หาหนทางแห่งการหลุดพ้น

ขอกราบคารวะและน้อมส่งแม่ทัพธรรม ผู้รับสืบทอดพระพุทธศาสนา เข้าสู่พระนิพพาน

ขอเชิญรับฟังเสียงบรรยาย ธรรมบท ชุดที่ 1
โดย พระอาจารย์สุดใจ ทนฺตมโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

ขอเชิญรับฟังเสียงบรรยาย ธรรมบท ชุดที่ 2
โดย พระอาจารย์สุดใจ ทนฺตมโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

ขอเชิญรับฟังเสียงบรรยาย ธรรมบท ชุดที่ 3
โดย พระอาจารย์สุดใจ ทนฺตมโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

ขอเชิญรับฟังเสียงบรรยาย ธรรมบท ชุดที่ 4
โดย พระอาจารย์สุดใจ ทนฺตมโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

คาถามหาจักรพรรดิ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ(๓ ครั้ง)

* สวดตามกำลังวัน อาทิตย์ ๖, จันทร์ ๑๕, อังคาร ๘, พุธ ๑๗, พฤหัส ๑๙, ศุกร์ ๒๑, เสาร์ ๑๐ *

นะโมพุทธายะ พระพุทธไตรรัตนญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา

พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ

พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีธานัง วะรังคันธัง สีวลีจะ มหาเถรัง

อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส

พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

เครื่องมือสำหรับการสอนออนไลน์

เครื่องมือสำหรับการสอนออนไลน์ในลักษณะที่เป็นเรียวไทม์หรือสอนแบบเห็นหน้าเห็นตาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนที่เหมาะสมที่สุด เพื่อที่จะได้สอนตามเวลาที่กำหนดในตารางสอน จะได้นัดหมายนักศึกษามาเข้าเรียนได้ตามปกติ มีเครื่องลักษณะดังกล่าวหลากหลายเป็นไปตามแต่ละมหาวิทยาลัยจะถนัดและได้รับการฝึกอบรมที่แตกต่างกัน มีทั้งที่เป็นแบบเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย มีคุณภาพและการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน แต่มีคุณลักษณะเดียวกันคือสามารถที่จะใช้สอนออนไลน์ได้เหมือนกัน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถพบกันได้ในเวลาเดียวกัน ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ในการสอนออนไลน์จะเป็นลักษณะแตกต่างกันได้แก่

  • สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสอนแบบเรียวไทม์ได้เช่น เฟสบุ๊คซ์ไลฟ์ (Facebook live) , ไลน์ (LINE) , สไกด์ (Skype) ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นโปรแกรมสนทนาออนไลน์แบบเห็นหน้า เป็นการสนทนาแบบกลุ่มที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสอนออนไลน์ได้ แต่ไม่มีเครื่องมือช่วยในการบรรยายและควบคุมการนำเสนอต่าง ๆ มีลักษณะเป็นห้องสนทนาระหว่างบุคคลมากกว่า
  • การประชุมทางไกล (Video Conferencing) เป็นระบบการสื่อสารสองทางที่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสอนออนไลน์มากที่สุด เนื่องจาก
    เป็นระบบที่สามารถพบกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนในทันที สามารถจัดกลุ่มในการเรียนในลักษณะชั้นเรียนได้ ควบคุมการบรรยายและการนำเสนอของผู้สอนและผู้เรียนได้ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ทำให้ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในแบบปฏิสัมพันธ์ในเวลาเดียวกัน
    กลุ่มนี้ได้แก่ Microsoft Team / Google Hangouts Meet / Google Classroom, Zoom.us , Webex Cisco, Youtube channel ฯลฯ

ส่วนโปรแกรมติดตั้งประเภทเชื่อมอินเทอร์เน็ตแล้วเปิดออนไลน์ ควบคุมได้ด้วยตนเองก็เช่น OBS (Open Broadcast Software) คือโปรแกรม OpenSource ที่ต้องลงเครื่องเปิดให้ใช้งานฟรี บันทึกได้ นำมาขึ้นยูทูปได้อีกรอบ นอกจากนั้นก็ยังมีอีกมากมาย

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ทำให้เกิดการหยุดชะงักกิจกรรมต่าง ๆ
การยกเลิกการประชุมทั่วโลก มีการยกเลิกการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยของประเทศไทยหลายแห่งเนื่องจากความวิตกกังวลในการที่
ผู้เรียนมาเรียนร่วมกันจะเกิดการติดเชื้อและการแพร่กระจายทำให้ควบคุมได้ยาก ความตื่นตระหนกสะท้อนไปถึงการขาดแคลนวัสดุป้องกันเชื้อ
ตลอดจนความวิตกกังวลที่จะเข้าร่วมการประชุมที่มีผู้คนเข้าร่วมมาก ๆ ที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ต้องหันมาจัดในลักษณะการออนไลน์

เพื่อให้กิจกรรมดำเนินต่อไปได้โดยที่ผู้เข้าร่วมไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยทุกคนสามารถสื่อสารกันได้ทุกที่ทุกเวลาแม้จะอยู่ห่างกัน จึงจำเป็น
ต้องมีการใช้งานระบบประชุมทางไกล (Video Conferencing) เข้ามาช่วยในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยไม่สามารถดำเนินการได้ การจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาร่วมกันในเวลาเดียวกัน โดยการใช้โปรแกรมประชุมทางไกลที่มีให้เลือกอยู่มากมาย อาทิเช่น zoom.us , Microsoft Team, Google Meet ฯลฯ แต่ละอย่างมีลักษณะคล้าย ๆ กันแต่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของตนที่แตกต่างไปตามแต่ผู้ใช้งานจะเลือกใช้

ส่วนตัวผมเองตอนนี้ใช้ Webex Cisco เป็นหลัก เพราะทำงานได้ต่อเนื่องหลายชั่วโมงฟรี โดยไม่มีการตัดเริ่มต้นใหม่ ส่วน zoom.us เป็นระบบที่ดีมากทำงานคล้ายกันกับ Webex Cisco แต่เสียค่าใช้จ่าย ให้ใช้งานได้ฟรีเพียง 40 นาทแล้วก็ต้องเปิดห้องใหม่อยู่ตลอดเวลา MS Team ก็ต้องเป็นสมาชิกของไมโครซอฟท์ เช่นเดียวกันกับ Google ก็ต้องเป็นสมาชิกและมีอีเมลของ google ขณะที่ Webex Cisco สมัครแล้วใช้งานได้ทันที ข้อเสียก็คือต้องสมัครแล้วรออีเมลตอบทีละขั้นประมาณ 1-3 วัน ถ้าใครไม่รู้ก็นึกว่าไม่อนุญาตให้ใช้ก็จะไม่คลิกเข้าไปดูเงื่อนไขอย่างต่อเนื่องทำให้เสียสิทธิ แต่ถ้ารอจนได้รับ login/password จึงจะได้สิทธิเปิดห้องเรียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

ห้องประชุมระบบ Video Conferencing ด้วย Webex Cisco ของ รศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ไปพบผมได้ที่นี่ครับ (14 เมษายน 2563)
https://meetingsapac3.webex.com/meet/prachyanun.n

ภาพ 1 ห้องเรียนออนไลน์ด้วย Webex Cisco ของนักศึกษาปริญญาโทการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี พ.ศ.2563

ภาพ 2 ห้องเรียนออนไลน์ด้วย Zoom.us ของนักศึกษาปริญญาโทการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี พ.ศ.2563

ภาพ 3 ห้องเรียนออนไลน์ด้วย Zoom.us ของนักศึกษาปริญญาเอก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ.2563
ภาพ 4 การประชุมออนไลน์ กลุ่มบำบัดผู้ติดวิทยานิพนธ์รุ่น covid-19
วันที่ 6 เมย. 63 เวลา 10:30 – 12:00 น. ด้วย Cisco Webex
ภาพ 5 สอนออนไลน์ด้วย zoom.us นักศึกษาปริญญาเอก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)

สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)
หมู่ที่ 1 ต.ไร่ส้ม อ.เมืองฯ จ.เพชรบุรี (76000)

สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี) เป็นสำนักปฏิบัติธรรมตั้งอยู่บนเขากิ่ว ติดอยู่กับเขาบันไดอิฐ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ
จะมองเห็นก่อนเขาวัง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่ตั้งมาหลายสิบปี มีหลวงพ่อกันตะสิริภิกขุเป็นประธานสงฆ์

ผมเคยบวชเณรปฏิบัติและฝึกกรรมฐาน เจริญอาณาปาณะสติอยู่สำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนและก็ยังคงปฏิบัติอยู่เช่นนี้จนถึงปัจจุบัน

ผมเป็นกรรมการมูลนิธิศิริธรรมชุดที่จัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ.2563 ที่จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เพื่อทำหน้าที่ทะนุบำรุงสำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี) และสำนักปฏิบัติศิริธรรม-นายาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่

ผมจึงไม่ใช่เพิ่งมาเข้าวัดตอนแก่หรือเผชิญทุกข์จนต้องแสวงหาที่พึ่ง แต่ติดตามบุพการีคือคุณพ่อและคุณแม่อุปถัมน์พระพุทธศาสนามาตั้งแต่ยังเด็ก
แม้จะสิ้นท่านทั้งสองไปแล้วก็ยังถวายทานและทำบุญถวายสังฆทานตลอดเดือนทุกเดือนแด่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อุทิศส่วนกุศลให้คุณพ่อชำนาญและคุณแม่ประชัญ นิลสุข ไปตราบเท่าชีวิตจะหาไม่
ยึดมั่นและมั่นคง เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา ศรัทธาไม่คลอนแคลนในพระพุทธศาสนา อันเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้น
ความปรารถนาที่จะละโลกนี้ไปโดยไม่คิดจะกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารเป็นปรารถนาอันสูงสุดและไม่ปรารถนสิ่งใดอีก
จึงไม่มีคำตอบใดอีก เมื่อต้องตอบคำถามที่ว่าทำไมมาทำบุญที่สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรมเป็นประจำ สำนักฯ นี้ปฏิบัติอะไร สำนักฯ นี้ดีอย่างไร ฯลฯ

สุโข ปุญญัสสะ อุจจะโย การสั่งสมบุญนำสุขมาให้

อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลแผ่ไปให้ไพศาล
ถึงบิดามารดาครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน
คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้เทอญ

“อิทัง ปุญญะผะลัง” ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งดีหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้วแต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

และข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และ พระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด

และขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด

นิพพานะ ปัจจโย โหตุ

AI : วินาศสันตโนโลยีเพื่อเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา” ครั้งที่ 40 (40th WUNCA) (Workshop on UniNet Network and computer Application : 40 th WUNCA) ระหว่างวันที่ 15-17 มกราคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี หัวข้อ AI : วินาศสันตโนโลยีเพื่อเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม AI : Disruptive Technology for Green Technology